หลายๆท่านอาจได้ยินชื่อ "ทังสเตน" มาบ้างแต่อาจจะไม่ทราบว่า ทังสเตนนั้นมาจากไหน คุณสมบัติเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาลงรายละะเอียดเรื่องนี้กันค่ะ

ทังสเตน หรือ วุลฟรัม (Tungsten: wolfram) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 74 และสัญลักษณ์คือ W (จากภาษาลาตินว่า wolframium) ถูกค้นพบโดย Peter Woulfe ในปี 1779 คำว่า “ทังสเตน” มาจากภาษาสวีเดน มีความหมายว่า “หินที่มีความแข็งและหนัก” 
ทังสเตนเป็นองค์ประกอบทางเคมีที่เรียกว่า wolfram และมีคุณสมบัติที่น่าทึ่งเป็นอย่างมาก ทังสเตนมีจุดหลอมเหลวสูงสุดและมีความต้านทานแรงดึงสูงสุด มีความคงทนและค่อนข้างหายาก ด้วยคุณสมบัติความแข็งและทนความร้อนสูง ทังสเตนคาร์ไบด์จึงใช้ทำเป็นเครื่องมือตัดหรือหัวเจาะ ใช้ทำกระสุนเจาะเกราะ เครื่องมือผ่าตัด อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับและอื่น ๆ

แหวนทังสเตนไม่ได้ทำจากทังสเตนบริสุทธิ์ เนื่องจากทังสเตนบริสุทธิ์เป็นเรื่องยากที่จะทำหรือขึ้นรูปได้ ดังนั้นทังสเตนที่ใช้สำหรับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและในเครื่องประดับ จึงมีส่วนผสมอยู่ในรูปของ คาร์ไบด์

ทังสเตนคาร์ไบด์ถูกสร้างขึ้นโดยการรวมอะตอมทังสเตนและคาร์บอนจำนวนที่เท่ากัน แต่แหวนทังสเตนคาร์ไบด์ ยังคงคุณสมบัติพิเศษของโลหะทังสเตนบริสุทธิ์ไว้ ซึ่งรวมถึงจุดหลอมเหลวสูงและความต้านทานแรงดึงสูง ดังนั้นแหวนจึงมีความทนทานต่อรอยขีดข่วนและมีสีเทาอ่อน ซึ่งสามารถทำให้เป็นสีเข้มได้ด้วยกระบวนขัด

ทังสเตนคาร์ไบด์มีค่าความแข็งอยู่ในระดับ 9 เมื่อเทียบกับเพชรที่มีค่าความแข็งระดับสูงสุดอยู่ที่ 10  แต่เมื่อเทียบกับโลหะอื่นที่นำมาทำเครื่องประดับ เช่น สแตนเลส ทังสเตนมีความแข็งกว่าถึง 7 เท่า จะแข็งกว่าทอง 18K ถึง 10 เท่า และแข็งกว่าไทเทเนียมถึง 4 เท่า แต่เนื่องจากความแข็งแรงนี่เองก็มีข้อเสียคือในงานเครื่องประดับ เช่นแหวน จึงไม่สามารถที่จะปรับเพิ่มหรือลดขนาดได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทังสเตนก็ไม่ใช่โลหะที่ ทำลายไม่ได้ หรือ  Indestructible การออกแรงทุบ หรือใช้น้ำหนักบังคับสามารถทำให้แหวนทังสเตนแตกได้เช่นกัน

มีประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ

1.) ใช้ทำไส้หลอดไฟฟ้า อุปกรณ์วิทยุ ขั้วหลอดรังสีเอ็กซ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ และทำวัตถุทนไฟ
2.) ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมโลหะผสมที่ต้องการความแข็งมาก ๆ เช่น เครื่องมือตัดโลหะในโรงกลึง เครื่องมือกลที่มีรอบหมุนจัด อาวุธจำพวกรถถัง ลำกล้องปืน และอุปกรณ์ไฟฟ้า
3.) ใช้ทำสารประกอบทังสเตนคาร์ไบด์ซึ่งมีความแข็งมาก ๆ โดยมีความแข็งรองจากเพชร นำไปใช้ทำเครื่องมือตัดโลหะ และหัวเจาะในงานเจาะสำรวจ และเครื่องประดับต่างๆ
4.) ทังสเตนมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มอำนาจการเป็นแม่เหล็กของเหล็กได้ดี จึงนำไปผสมกับเหล็กกล้าที่ใช้ทำแม่เหล็กถาวร
5.) สารประกอบทังสเตนอื่น ๆ เช่น โซเดียมทังสเตน ทังสติกออกไซด์ และทังสเตนบรอนด์ ใช้ในอุตสาหกรรมทำสี โดยทังสติกออกไซด์ใช้ทำสีเหลืองในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องแก้ว ทังสติกบรอนซ์ให้สีต่าง ๆ เช่น สีเหลือง ม่วง และน้ำเงิน